วันพุธที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2560

กระบวนการของการจัดการเชิงกลยุทธ์

การจัดการกลยุธ์มีกระบวนการที่สำคัญดังนี้

การบริหารเชิืงกลยุทธ์ (Strategic management) เป็นกระบวนการซึ่่งรวมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกัน 3 ประการ คือ 1.การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์(strategic analysis)
2.การกำหนดกลยุทธ์(strategy fotmulation)
3.การปฎิบัติตามกลยุทธ์และการควบคุม(strategy implementation and control)
โดยทั่วไป การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์เป็นงานที่ต้องทำไว้ล่วงหน้าและต้องมีการพัฒนา จึงจะเป็นการพัฒนากลยุทธ์ที่เหมาะสม การกำหนดกลยุทธ์เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงงานที่ต้องทำไว้ล่วงหน้า ให้เป็นแผนซึ่งได้ผลลัพธ์ คือ กลยุทธ์ที่กำหนด
ส่วนการปฎิบัติตามกลยุทธ์ เป็นกระบวนการกำหนดแนวความคิดพื้นฐาน ซึ่่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
1.การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ
2.การกำหนดกลยุทธ์
3.การปฎิบัติตามกลยุทธ์และการควบคุม




ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ




สภาพแวดล้อมทั่วไปของการจัดการเชิงกลยุทธ์

ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

สภาพแวดล้อมทั่วไป

สภาพแวดล้อมทั่วไป (General environment) ประกอบด้วยปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบที่สำคัญต่อกลยุทธ์ของธุรกิจจะไม่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมทั่วไปได้ ดังนี้นการพัฒนาด้วยตัวเองในสภาพแวดล้อมทั่วไปเป็นสิ่งลำบากที่จะพยากรณ์ถูกต้อง สภาพแวดล้อมทั่วไป ประกอบด้วย ส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกัน ซึ่งอาจจะแบ่งออกเป็น 6 ส่วน คือ 1.ประชากรศาสตร์ 2.สังคมวัฒนธรรม 3.การเมืองและกฎหมาย 4.เทคโนโลยี 5.เศรษฐกิจมหภาค 6.ระดับโลก

การเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของสภาพแวลล้อมทั่วไป จะทำให้เกิดอุปสรรคในการทำธุรกิจได้ ตัวอย่าง อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นจะทำให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อความต้องการซื้อบ้านและรถยนต์ สภาพแวดล้อมจากคู่แข่งขันจะพิจารณาถึงลักษณะการแข่งขันระหว่างธุรกิจในอุตสาหกรรม ผู้บริหารจะอิทธิพลเหนือสภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน การพัฒนาแนวโน้มในสภาพแวดล้อมทางการแข่งขันจะใช้ในการคาดคะเนเกี่ยวกับระดับความถูกต้อง แต่อย่างไรก็ตามในอุตสาหกรรมซึ่งมีอัตราการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสูงจะแตกต่างกันอย่างมาก

สภาพแวดล้อมทั่วไปจะเปลี่นแปลงขอบเขตของอุตสาหกรรม เงื่อนไขข้อกำหนดด้านการเงิน การติดต่อสือสารและอุตส่าหกรรมการเงินต่าง ๆ สภาพแวดล้อมซึ่งมีแนวโน้มจะเป็นโอกาสใหม่สำหรับอุตสาหกรรมอาจจะนำไปสู่ผลกระทบด้านด้านตรงกันข้ามในอีกอุตสาหกรรมหนึ่ง แม้ว่าภายในอุตสาหรรมเดียวกันการพัฒนาสภาพแวดล้อมของแต่ละธุรกิจที่ธุรกิจเผชิญอยู่แตกต่างกัน ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคต่ออีกธุรกิจหนึ่งได้ ตัวอย่าง การพยากรณ์ การลดลงของประชากรอายุ 18-24 เป็นอุปสรรคต่อธุรกิจวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย ซึ่งมองเห็นการลดลงของตลาด อย่างไรก็ตามธุรกิจซึ่งมีอุปสรรคจะสามารถเปลี่ยนเป็นโอกาสได้โดยการนำเสนอโปรแกรมอื่นที่ประสบความสำเร็จ เช่น การศึกษาที่ต่อเนื่องกันสำหรับโปรแกรมสำหรับนักศึกษาในวัยที่สูงขึ้นลักษณะสภาพแวดล้อมทั่วไป มีดังนี้

1.แนวโน้มของสภาพแวดล้อมจะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมแตกต่างกัน (The same environmental trend may have very different effects on various industries) การเพิ่มขึ้นของการคำนึงถึงสุขภาพและรูปร่างลักษณะซึ่งทีผลทำให้เกิดกระทบต่อโอกาสสำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ออกกำลังกายรองเท้าเพื่อสุขภาพและโยเกิร์ต อย่างไรก็ตามจะเป็นอุปสรรคต่อทางอุตสาหกรรม ตัวอย่างอาหารพวกฟาสต์ฟู้ดซึ่งเป็นอาหารที่มีไขมันและเนี้อสัตว์จะได้ผลกระทบ จะได้รับอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมนี้

2.ผลกระทบจากแนวโนม้สภาพแวดล้อมต่อธุรกิจที่ต่างกันภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน(The impact of an environmental trend often differs significantly for different firms within the same industry) การควบคุมด้านกฎหมายของอุตสาหกรรมสายการบินได้ทำให้เกิดการแข่งขั้นมากขึ้น ซึ่งเป็นผลทำให้ธุรกิจที่มีอยู่เดิมมีกำไรลดลง ในขณะเดียวกันธุรกิจขนาดเล็กที่เป็นคู่แข่งขันใหม่เข้าสู่ตลาดมากขึ้น

3.แนวโน้มของสภาพแวดล้อมไม่จำเป็นที่จะทำให้เกิดผลกระทบอย่างมากต่ออุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง(All environmental trends may not necessarily have much impact on a specific industry) ตัวอย่างความก้าวหน้าในเทคโนโลยีชีวภาพทำให้เกิดผลกระทบที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมยา แต่จะไม่มีผลกระทบอย่างรุ่นแรงในอุตสาหกรรมอาหารเช้าหรืออาหารสำหรับเด็กในอานาคต

ข้อมูลจาก
การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ